การสัมมนาความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 5


"พลังงานสะอาดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"


วันที่ 29-30 มีนาคม 2561
ณ ห้องประชุม 4 อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม
จัดโดย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว

รายละเอียดโครงการ

โครงการสัมมนาความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว "พลังงานสะอาด...เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    ผู้ประสานงานโครงการ
       1. นางเกษมาพร ตัญบุญยกิจ
           หมายเลขโทรศัพท์ 0-7567-3351 โทรสาร 0-7567-3359
           หมายเลขโทรศัพท์มือถือ: 086-943-4904
           e-mail : tketsama@wu.ac.th
       2. นางสาวจริยา รัตนพันธุ์
           หมายเลขโทรศัพท์ 0-7567-3354 โทรสาร 0-7567-3359
           หมายเลขโทรศัพท์มือถือ: 089-725-9016
           e-mail : rjariya@wu.ac.th

         ตามบันทึกตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว โดยมีหน่วยงานที่เป็นภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานในสังกัดกรม กองต่างๆ จำนวน 43 หน่วยงาน ภายใต้ขอบเขตความร่วมมือ หน่วยงานต่างๆ จะร่วมกันส่งเสริมกิจกรรมหลักๆ ในการพัฒนาการให้บริการ การแลกเปลี่ยนสารสนเทศ การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างบทบาทของห้องสมุดในฐานะที่เป็นหน่วยงานบริการความรู้ขององค์กร และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในด้านการอนุรักษ์พลังานและสิ่งแวดล้อมของชาติ ซึ่งในการดำเนินงานความร่วมมือดังกล่าวมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งรูปแบบการจัดกิจกรรมประชุมหน่วยงานภาคีความร่วมมือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การอบรม สัมมนา การจัดทำแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว การกำหนดมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ตลอดจนการเยี่ยมชมศึกษาดูงานหน่วยงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายได้รับความรู้ ความเข้าใจ และได้รับประสบการณ์ตรงในการวางแผนและการให้บริการความรู้ การบริหารจัดการห้องสมุดเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของห้องสมุดอย่างต่อเนื่อง

         สำหรับปี พ.ศ.2561 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานภาคีความร่วมมือ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดสัมมนาความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 5 ขึ้น ภายใต้หัวข้อเรื่อง พลังงานสะอาดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2561 การสัมมนาครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะให้หน่วยภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ได้รับความรู้ และได้ประสบการณ์ในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญผู้เข้าร่วมสัมมนาและหน่วยงานในเครือข่ายจะได้มีโอกาสรับฟังการบรรยายทางวิชาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จากนักวิชาการและวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรง พร้อมกับได้มีโอกาสศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานที่มีการดำเนินงานด้านพลังงานในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ ตลอดจนได้มีโอกาสพบปะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียวกับเครือข่าย และขยายเครือข่ายหน่วยงานอื่นๆ อันจะนำมาซึ่งความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเครือข่ายที่อยู่ในภูมิภาค รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้หน่วยงานในเครือข่ายได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมต่อไป

1. เพื่อให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือได้ความรู้และได้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการห้องสมุดเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

2. เพื่อให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือได้ร่วมกันจัดกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว

3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดสีเขียวและขยายเครือข่ายหน่วยงานอื่นๆ เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

1. ผู้บริหารหน่วยงานและห้องสมุดในเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว จำนวน 43 หน่วยงาน

2. บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ในหน่วยงานภาคีความร่วมมือและผู้ที่สนใจในหน่วยงานอื่นๆ เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวนประมาณ 80 คน รวมทั้งสิ้นประมาณ 120 คน

       ค่าลงทะเบียน 1,200 บาท
       หมายเหตุ ปิดรับลงทะเบียนวันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2561

วันพฤหัสบดีที่ 29 ถึง วันศุกร์ที่ 30 เดือนมีนาคม 2561

ห้องประชุม 4 อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

1. หน่วยงานภาคีความร่วมมือได้รับความรู้ และได้รับประสบการณ์ตรงเพิ่มขึ้น เพื่อการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียวและการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

2. หน่วยงานภาคีความร่วมมือได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนเพื่อการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว

3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียวและการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม